วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ร๊ากข้างเดียว




การที่เราร๊ากคัยแล้วม้
ายกล้าบอก แม้อยากจาบอกแต่ก็กลัวว่าเขาไม่รับฟัง และม้ายร๊ากเรา มันคงจาทัมหั๊ยเราม้ายกล้าร๊ากคัยอีกเลย ร๊ากมากก้อช้ำมาก




ก้อมันร๊ากปัยแล้วหัยทำยังงัยว่ะ ตัดจัยม้ายไหว มันต้องใช่เวลานาน คอด...คอด...




ที่มา;ferncp9 BP.clupp@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คนรัก




หมาก ปริญ  สุภารัตน์

หมาก ปริญ


ประวัติ หมาก ปริญ สุภารัตน์


ชื่อ : ปริญ สุภารัตน์


วันเกิด : 19 มีนาคม พ.ศ.2533


อายุ : 20 ปี


ส่วนสูง : 180 เซนติเมตร


น้ำหนัก : 64 กิโลกรัม


การศึกษา : ปี 2 คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ม.รังสิต


คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด


ผลงาน

ละครโทรทัศน์

- ประชาธิปไตยยูไนเต็ด ละครตอนเดียวจบ ออกอากาศในวันอาสาฬหบูชา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2553

- เงารักลวงใจ ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 23 เมษายน -21 พฤษภาคม 2553

- ธาราหิมาลัย รับบทปฐพี อดิศวร (ดิน) นักแสดงร่วมละครฟอร์มยักษ์ 4 หัวใจแห่งขุนเขา ออนแอร์ทางช่อง 3 ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 20.30 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 น.

- ดวงใจอัคนี รับบทปฐพี อดิศวร (ดิน) นักแสดงร่วมละครฟอร์มยักษ์ 4 หัวใจแห่งขุนเขา ออนแอร์ต่อจากธาราหิมาลัย

- ปฐพีเล่ห์รัก รับบทเป็นพระเอก ชื่อ ปฐพี อดิศวร (ดิน) ออนแอร์ต่อจากดวงใจอัคนี ทางช่อง 3

- วายุภัคมนตรา รับบทปฐพี อดิศวร (ดิน) นักแสดงร่วมละครฟอร์มยักษ์ 4 หัวใจแห่งขุนเขา ออนแอร์ต่อจากปฐพีเล่ห์รัก ทางช่อง 3


ผลงานมิวสิควีดีโอ

- มิวสิกวีดีโอ เพลง ใหม่ๆก็รัก ศิลปิน วงพริกไทย คู่กับ เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์

- มิ วสิกวีดีโอ เพลง แบบไหนที่เธอจะรัก ศิลปิน Zeal เพลงประกอบละคร เงารักลวงใจ

- มิวสิกวีดีโอ เพลง ใจฉันรักเธอคนเดียว ศิลปิน โบว์ลิ่ง มานิดา เพลงประกอบละคร เงารักลวงใจ

ภาพยนตร์ โฆษณา

- โฆษณามิสทีน ไดม่อน กับ พัชราภา ไชยเชื้อ

ถ่ายแบบ นิตยสาร

- สกู๊ป EYE CANDY นิตยสารสุดสัปดาห์ No.632 (1 มิถุนายน 2552)

- OUTSTANDING นิตยสารสุดสัปดาห์ No.628 (1 เมษายน 2552)

- นิตยสาร ภาพยนตร์บันเทิง :: 12-18 พฤษภาคม 2553 :: คู่กับ มิ้นท์ ณัฐวรา วงศ์วาสนา

- Om-Nadech-Mark IN Magazine vol. 6 no.126 (พฤษภาคม 2553)

เงารักลวงใจ

หมาก ปริญ  สุภารัตน์

โชว์กล้าม...โชว์กล้าม

ปริญ  สุภารัตน์

โคตรหล่อเลยว่ะ

ที่มา;daradaily

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

เปิดศึกการแอ๊บแบ๊วที่นี้




ผู้ชายเค้าแอ๊บแบบเนี้ยหรอ




ที่มา;http://www.google.co.th/images?hl=th&client=firefox-a&hs=RdT&rls=org.mozilla:th:official&channel=s&q=%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%8A%E0%B8%A7&um=1&ie=UTF-8&source=univ&ei=LraiTIroBoLuvQOZktDYAw&sa=X&oi=image_result_group&ct=title&resnum=1&ved=0CCgQsAQwAA&biw=1024&bih=578

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ

พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงสถาปนาโรงเรียนกฎหมาย ประดิษฐาน ณ อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือกำเนิดขึ้นจากการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมาย[6]เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แต่ครั้งมีพระยศที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ฯ เพื่อให้การศึกษาอบรมด้านนิติศาสตร์โดยเฉพาะซึ่งไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ครั้งนั้นมีสถานะเป็นแต่โรงเรียนอันมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ กระนั้นก็ได้มีแจ้งความของโรงเรียนเกี่ยวกับกำหนดการสอบไล่ของนักเรียนกฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวราชการด้วย สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนกฎหมายนั้นได้แก่ห้องเสวยของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมซึ่งอยู่ถัดจากห้องทรงงาน โดยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมทรงให้การศึกษาด้วยพระองค์เองเมื่อทรงเสร็จสิ้นการเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว ครั้นมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการย้ายไปทำการเรียนการสอนยังตึกสัสดีหลังกลาง กระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2453 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ฯ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม หลังจากนั้นโรงเรียนกฎหมายก็ทรุดโทรมตามลำดับ และต้องไปเปิดทำการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราวที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร และที่เรือนไม้หลังเล็ก ๆ ระหว่างตึกศาลแพ่งกับตึกเก๋งจีนซึ่งบัดนี้ทำลายลงเสียแล้ว
พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับโรงเรียนกฎหมายไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม และให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโรงเรียนนี้ โดยสถานที่เรียนนั้นย้ายมายังตึกกรมประชาสัมพันธ์เดิมบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
ในปี พ.ศ. 2475 ได้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน โดยในคำประกาศของคณะราษฎรในวันยึดอำนาจกล่าวว่า การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น “เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่”[7] นโยบายหรือหลักประการที่ 6 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จึงระบุไว้ว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”[7] สถาบันศึกษาแบบใหม่ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยามได้รับการศึกษาชั้นสูง โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมาคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง [1][8]
พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย แล้วให้โอนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ไปสมทบกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 เมษายน ปีนั้นเอง[9] ครั้งนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้การเรียนการสอนของโรงเรียนกฎหมาย เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะดังกล่าว ทั้งนี้ การโอนไปสมทบดังกล่าวเป็นแต่ทางนิตินัย ทว่าโดยพฤตินัยแล้ว ยังคงจัดการเรียนการสอนยังคงอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาเช่นเดิม[10] ซึ่งการให้โอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้เป็นอีกแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการก่อตั้ง มธก. ขึ้น โดยกลุ่มอดีตนักเรียนโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม กล่าวคือได้สร้างความไม่พอใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย ที่ต้องการให้ยกฐานะโรงเรียนของตนเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่กลับถูกทำให้เสมือนถูกยุบหายไป จึงมีผลผลักดันให้นักเรียนกฎหมายดังกล่าวเคลื่อนไหวหนุนให้มีการก่อตั้ง มธก. ขึ้น[1] โดยเมื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ได้โอนทรัพย์สินตลอดจนคณาจารย์ของโรงเรียนกฎหมายเดิม เข้ามาสังกัดในมหาวิทยาลัยใหม่นี้ด้วย[11]
ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ปีนั้น และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปีเดียวกัน[12] โดยความสำคัญว่า

มาตรา 4 ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่ง เรียกว่า 'มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง' มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมาย วิชาการเมือง วิชาเศรษฐการ และบรรดาวิชาอื่น ๆ อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง
มาตรา 5 ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้นมาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ก่อนวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477


อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ที่หน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ณ ที่ตั้งเก่าของโรงเรียนกฎหมาย บนถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา[1][13][14] โดยนายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวไว้ในโอกาสจัดตั้งมหาวิทยาลัยว่า

"การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมได้ก็โดยอาศัยการศึกษาอันดีตั้งแต่ชั้นต่ำ ตลอดจนการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้นการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้ จึงจำต้องมีสถานการศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น”
และ “มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น"

ในช่วงเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ. 2477-2479) การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยยังคงดำเนินอยู่ที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2478 มหาวิทยาลัยขอซื้อที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิมพร้อมทั้งสร้างตึกโดม โดยเงินที่ซื้อที่ดินรวมทั้งการก่อสร้างได้มาจากเงินที่มหาวิทยาลัย เก็บจากค่าสมัครและค่าเล่าเรียน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ตั้งธนาคารเอเชียขึ้น เพื่อเป็นสถานที่สำหรับนักศึกษาวิชาการบัญชีใช้เป็นที่ฝึกงานด้วย
พ.ศ. 2481 มหาวิทยาลัยตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อ ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น และถูกยกเลิกไปในปีพ.ศ.2490
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง[15] ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า “การเมือง” ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย เหลือเพียง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”[16] ตำแหน่งผู้ประศาสน์การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นตำแหน่งอธิการบดี[1] หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น นิติศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, รัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495
พ.ศ. 2518 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้น เห็นว่าควรที่จะขยายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในชั้นปริญญาตรีเพิ่มขึ้น พื้นที่เดิมบริเวณท่าพระจันทร์ ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวทางวิชาการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอใช้ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เรียกว่ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งเจริญก้าวหน้าและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังขยายไปที่ ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยาด้วย โดยอยู่บนพื้นฐานการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ ดั่งเช่น จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติทั้งหมด และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการเรียนการสอน ณ ศูนย์รังสิต และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มสังคมศาสตร์ โครงการนานาชาติ และโครงการพิเศษดำเนินการเรียนการสอน ณ ท่าพระจันทร์[17]
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธรรมจักร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ดอกของต้นหางนกยูงฝรั่ง
ธรรมจักร เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย[18] โดยตราธรรมจักรนี้มี 12 แฉก อันหมายถึง อริยสัจจ์ 4 ซึ่งวนอยู่ในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ และมีพานรัฐธรรมนูญอยู่ตรงกลาง อันหมายถึงการยึดมั่นและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย [19]
เพลงประจำมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ทำนองมอญดูดาว) เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเพลงแรก ประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา เมื่อปี พ.ศ. 2478
สีเหลืองแดง สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีเหลือง-แดง ดังปรากฏในเนื้อเพลง “เพลงประจำมหาวิทยาลัย” (มอญดูดาว) ที่ว่า “เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้” ซึ่งนับเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยหมายถึง ความสำนึกในความเป็นธรรมและความเสียสละเพื่อสังคม[20]
เพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[21] โดยในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504ได้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จมาทรงดนตรี ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ภายในพระราชวังดุสิต พระองค์รับสั่งว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยพระราชทานให้แก่นักศึกษาธรรมศาสตร์
จนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาทรงดนตรี ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงบรรเลงทำนองเพลงที่จะพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยด้วย[22] โดยเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 36 มีนายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และยกร่างโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
หางนกยูงฝรั่ง เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงปลูกไว้บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่จำนวน 5 ต้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เวลา 14.30 น. พร้อมกับทรงพระราชทานให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [23] ซึ่งสีของดอกมีสีเหลือง-แดง สัมพันธ์กับสีประจำมหาวิทยาลัย
อนึ่ง ประชาคมธรรมศาสตร์ มักเรียกเพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ และต้นหางนกยูงฝรั่งว่า ยูงทอง[24][25] โดยเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีความเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระราชกรณียกิจโดยตรง ตัวอย่างเช่น พิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร[26] เพลงพระราชทาน และต้นไม้พระราชทาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีสถานะและความสำคัญเหนือกิจกรรม และเหนือเพลงรวมทั้งเหนือต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่เคยมีมาแต่เดิม
ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน เป็นวลีอมตะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วาทะสำคัญนี้มีต้นเค้ามาจาก มองนักศึกษา มธก. ผ่านแว่นขาว บทความอันลือลั่นของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์'[27] ซึ่งสะท้อนชัดหลักการของประชาคมธรรมศาสตร์ นับแต่มหาวิทยาลัยนี้กำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2477 ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา โดยปัจจุบันเปรียบเสมือนคำขวัญอย่างไม่เป็นทางการของมหาวิทยาลัย และประชาคมธรรมศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าวาทะดังกล่าวนี้อธิบายความหมายของจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ได้อย่างดีที่สุด
ทั้งนี้ปัจจุบันมีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับความเป็นไปของวาทะดังกล่าว[28] เช่น เป็นเครื่องหมายการค้าของมหาวิทยาลัยเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ[29] หรือปัจจุบันนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้วาทะนี้เพียงเพื่อโอ้อวดตน เป็นต้น
สัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็คือ ตึกโดม โดยคำว่า “ลูกแม่โดม” หมายถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[30]
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
การเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีการศึกษา แต่สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และโครงการบูรณาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ใช้เวลา 5 ปีการศึกษา ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จะใช้เวลา 6 ปีการศึกษา
ตลอดระยะเวลาการเรียนนอกจากการเรียนวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยและวิชาบังคับเลือกของสาขาวิชาแล้ว ยังสามารถลงทะเบียนวิชาเลือกเสรีหรือวิชาโทข้ามคณะและสาขาวิชาได้อย่างเสรี ยกเว้นหลักสูตรที่ด้วยสภาพการณ์แล้วไม่สามารถทำได้ เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นต้น นอกจากการพบปะกันในคณะหรือสาขาวิชาแล้ว ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชุมนุมชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้ากลุ่มของคณะ การเล่นกีฬา และสำหรับคณะหรือสถาบันที่มีระบบโต๊ะกลุ่มหรือระบบบ้าน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ยังมีโอกาสที่จะได้พบปะหรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่โต๊ะกลุ่มหรือบ้านได้อีกด้วย
[แก้] ชุมนุม ชมรม กลุ่มกิจกรรม กลุ่มอิสระในมหาวิทยาลัย

เสลี่ยงเชิญตราธรรมจักรในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66 โดยองค์การนักศึกษา ร่วมกับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านกิจกรรมนักศึกษา กิจกรรมภายในของนักศึกษานั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรของนักศึกษา ที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วน คือ ส่วนบริหารจัดการ ได้แก่ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ส่วนการพิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง-ยุบชุมนุมชมรม รวมไปถึงการพิจารณากฏ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ได้แก่ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา ส่วนบริหารจัดการ และกำกับดูแลหอพักนักศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กพน.) และส่วนพิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง-ยุบชุมนุม ชมรม ในหอพัก ได้แก่ สภานักศึกษาหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทำงานประสานกับกลุ่มงานผู้ช่วยอาจารย์หอพัก สำนักงานจัดการทรัพย์สิน[52] ส่วนคณะกรรมการนักศึกษาของแต่ละคณะ อยู่ในความดูแลของรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาของคณะนั้นๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจกรรมในส่วนกลาง และยังมีกลุ่มอิสระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานใดอีกด้วย โดยปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกอบด้วยชุมนุมชมรม 4 ฝ่าย[53] ดังต่อไปนี้
ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ ชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ ชมรมโดมทักษิณ ชมรมนักศึกษาชาวเหนือ ชมรมนักศึกษาอีสาน ชุมนุมสันทนาการ ชุมนุมเชียร์ ชุมนุมวรรณศิลป์ ชุมนุมศิลปะและการแสดง (Drama Club) ชุมนุมขับร้องและประสานเสียง (TU Chorus) ชุมนุมดนตรีไทย ชุมนุมดนตรีสากล (TU Band) ชุมนุมดุริยางค์สากล (TUSO) ชุมนุมโฟล์คซอง (TU Folk-song) ชุมนุมปาฐกถาและโต้วาที ชุมนุมปาฐกถาภาษาอังกฤษ (Debate Club) ชมรมโบราณคดีและไทยศึกษา และชุมนุมถ่ายภาพ (Photo Club)
ฝ่ายศาสนาและจริยธรรม ได้แก่ ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน ชมรมมุสลิม ชมรมคาทอลิก และชมรมคริสเตียน
ฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์ ได้แก่ ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท ชุมนุมพัฒนาชายหญิงเพื่อสังคม (Youth Club) สโมสรโรตาแรคท์ ชุมนุมสังคมพัฒนา ชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา ชุมนุมเพื่อนโดมสัมพันธ์ ชมรมอนุรักษ์นกและศึกษาธรรมชาติ ชมรมสิทธิมนุษยชน ชมรมนักศึกษาโครงการเรียนดีจากชนบท และชมรมวิทยุและกระจายเสียง
ฝ่ายกีฬา ได้แก่ ชุมนุมกรีฑา ชุมนุมกีฬาในร่ม ชุมนุมคาเต้-โด ชมรมเทควันโด ชุมนุมยูโด ชุมนุมแบดมินตัน ชุมนุมเทเบิลเทนนิส ชุมนุมลอนเทนนิส ชุมนุมฟุตบอล ชุมนุมรักบี้ฟุตบอล ชุมนุมบาสเกตบอล ชุมนุมวอลเลย์บอล ชุมนุมซอฟท์บอลและเบสบอล ชุมนุมตะกร้อ ชุมนุมเปตอง ชุมนุมกีฬาทางน้ำ ชุมนุมฟันดาบสากล ชุมนุมยิงปืน ชุมนุมยิงธนู ชุมนุมกีฬาลีลาศ ชุมนุมเพาะกาย ชมรมมวย ชุมนุมกอล์ฟ ชมรมมวยไทย ชมรมฟุตบอล ชมรมรักบี้ฟุตบอล ชมรมยิงปืน ชมรมตระกร้อ ชมรมยิงธนู ชมรมว่ายน้ำ ชมรมฟันดาบ ชมรมโปโลน้ำ ชมรมบาสเก็ตบอล ชมรมวอลเล่ย์บอล ชมรมเทควันโด และชมรมคาราเต้
กลุ่มอิสระ ได้แก่ กลุ่มอิสระ Youth for Next Step กลุ่มอิสระล้อการเมือง กลุ่มอิสระลานสรรค์ กลุ่มอิสระไม้ขีดไฟ กลุ่มอิสระเพาะรัก และกลุ่มอิสระสังคมนิยมประชาธิปไตย
พรรคการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพรรคการเมืองของนักศึกษาในปัจจุบัน คือ พรรคธรรมเพื่อโดม พรรคยูงทอง พรรคเคียงโดม พรรคกล้าโดม และพรรคภูมิใจโดม
ชมรมชุมนุมในหอพัก ได้แก่ สโมสรนักศึกษาสภากาแฟ กลุ่มกิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ITTAG) กลุ่มพัฒนาศักยภาพ (R&DTC) และกลุ่มส่งเสริมคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังมี "กลุ่มอิสระในหอพัก" ได้แก่ กลุ่มอิสระบ้านจัดฝัน กลุ่มอิสระ Flim Addict และกลุ่มอิสระชมรมเรื่องลึกลับ
องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา ชมรมชุมนุม และกลุ่มอิสระต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา ยกเว้นชุมนุมสายกีฬาที่มีที่ทำการอยู่ ณ ศูนย์บริการการกีฬา อาคารยิมเนเซียม 7 และคณะกรรมการหอพักนักศึกษา สภานักศึกษาหอพัก ชมรมชุมนุมในส่วนของหอพัก จะอยู่ภายใน NOC ต่าง ๆ หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์

ที่มา;http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C